30 กรกฎาคม 2552

สรุปการเรียน Lecture 5 เรื่อง Stack ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

การแทนที่ข้อมูลของสแตกการแทนที่ข้อมูลของสแตกสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์ การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย2 ส่วน คือ1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2ส่วนคือ top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล (Data) และพอยเตอร์ ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป การดำเนินการเกี่ยวกับสแตกการดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ได้แก่
1. Create Stack 5. Empty Stack
2. Push Stack 6. Full Stack
3. Pop Stack 7. Stack Count
4. Stack Top 8. Destroy Stack

การทำงานของโปรแกรมที่มีโปรแกรมย่อย
การทำงานของโปรแกรมหลักที่เรียกใช้โปรแกรมย่อยและในแต่ละโปรแกรมย่อยก็มีการเรียกใช้โปรแกรมย่อยต่อไปอีก สแตกจะสามารถเข้ามาช่วยในการทำงาน คือแต่ละจุดของโปรแกรมที่เรียกใช้โปรแกรมย่อยจะเก็บเลขที่ของคำสั่งถัดไปที่เครื่องต้องกลับมาทำงานไว้ในสแตก หลังจากเสร็จสิ้นการทำงานในโปรแกรมย่อยแล้วจะทำการ pop ค่าเลขที่คำสั่งออกมาจากสแตก เพื่อกลับไปทำงานที่คำสั่งต่อจากคำสั่งที่เรียกใช้โปรแกรมย่อย

การคำนวณนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
ในการเขียนนิพจน์ทางคณิตศาสตร์เพื่อการคำนวณ จะต้องคำนึงถึงลำดับความสำคัญของเครื่องหมายสำหรับการคำนวณด้วยโดยทั่วไปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์สามารถเขียนได้ 3 รูปแบบ คือ
1. นิพจน์ Infix นิพจน์รูปแบบนี้ operatorจะอยู่ตรงกลางระหว่างตัวถูกดำเนินการ 2 ตัว
2. นิพจน์ Postfix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียนตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2 ก่อน แล้วตามด้วย operator
3. นิพจน์ Prefix นิพจน์รูปแบบนี้ จะต้องเขียน operatorก่อนแล้วตามด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 และ 2
ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาระดับสูง คำสั่ง ที่เป็นนิพจน์ทางคณิตศาสตร์จะเขียนอยู่ในรูปแบบของนิพจน์Infix การคำนวณค่านิพจน์ในรูปแบบนี้ ตัวแปลภาษาต้องทำการ ตรวจสอบนิพจน์จากซ้ายไปขวา เพื่อหาเครื่องหมายที่ต้องคำนวณ ก่อน จึงจะเริ่มคำนวณให้ แล้วทำแบบนี้ซ้ำ ๆกันจนกว่าจะ คำนวณเครื่องหมายครบทุกตัว ทำให้การทำงานช้าและไม่สะดวก ต่อการแก้ปัญหานี้ ตัวแปลภาษาจะทำงานแปลงนิพจน์ Infix ให้ อยู่ในรูปแบบที่ช่วยให้การคำนวณสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยแปลงให้อยู่ในรูปของนิพจน์ Postfix ในการแปลงจากนิพจน์ Infixไปเป็นนิพจน์ Postfix จะใช้ เทคนิคของการจัดเก็บข้อมูลใน โครงสร้างสแตกเข้ามาช่วย โดยพิจารณานิพจน์ Infix ทีละตัวอักษรจากซ้ายไปขวาและย้าย ตัวอักษรเหล่านั้นไปเป็นนิพจน์ Postfixทีละตัว ส่วนตัวดำเนินการหรือ operator จะถูกนำไปเก็บไว้ในสแตกการคำนวณ

ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix
1. อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ จะนำค่าลำดับความสำคัญของตัว ดำเนินการที่อ่านเข้ามาเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก- ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตกขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix4. ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด “)” จะไม่ push ลงในสแตกแต่มีผลให้ตัวดำเนินการอื่น ๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไป เรียงต่อกันในนิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ “(” จะ popวงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5. เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infixหมดแล้ว ให้ทำการ Pop ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์Postfix
ในการคำนวณค่า Postfix ที่แปลงมาแล้ว ตัวแปลภาษาจะทำการคำนวณโดยใช้โครงสร้างสแตกช่วยอีกเช่นกันขั้นตอนในการคำนวณ1. อ่านตัวอักษรในนิพจน์ Postfix จากซานไปขวาทีละตัวอักษร2. ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการ ให้ทำการ push ตัวถูกดำเนินการนั้นลงในสแตก แล้วกลับไปอ่านอักษรตัวใหม่เข้ามา3. ถ้าเป็นตัวดำเนินการ ให้ทำการ pop ค่าจากสแตก 2 ค่าโดย ตัวแรกเป็นตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 และตัวที่ 1ตามลำดับ
4. ทำการคำนวณ ตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1ด้วยตัวถูก ดำเนินการตัวที่ 2 โดยใช้ตัวดำเนินการในข้อ 35. ทำการ push ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณในข้อ 4 ลงสแตก6. ถ้าตัวอักษรในนิพจน์ Postfix ยังอ่านไม่หมดให้กลับไปทำข้อ 1 ใหม่

DTS 06-29-07-2552

29 กรกฎาคม 2552

สรุปการเรียน Lecture 5 เรื่อง Stack

สแตก (Stack) สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน

สแตกจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวนการ คือ
1. Push คือ การนำข้อมูลใส่ในสแตก และสามารถตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่ ถ้าไม่เต็มสามารถเพิ่มข้อมูลลงไปได้ แล้วปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ที่สแตกว่าง ถ้าเต็ม (Stack Overflow) ก็ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้
2. Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก ถ้ามีข้อมูลออกจากสแตกเพียงหนึ่งตัว จะเกิดสภาวะว่าง (Stack Empty) คือการไม่มีข้อมูลในสแตก ถ้าไม่มีข้อมูลในสแตก แล้วทำการ Pop จำทำให้เกิดความผิดพราดที่เรียกว่า Stack Underflow ดังนั้นก่อนการนำข้อมูลออกจากสแตกต้องทำการตรวจสอบก่อนว่าว่างหรือเปล่า จึงจะนำข้อมูลออกได้ และปรับตัวชี้ตำแหน่งให้ไปชี้ตำแหน่งข้อมูลที่ต่อจากข้อมูลที่ถูกนำออกไป
3. Stack Top คือ การคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำข้อมูลออกจากสแตก

DTS 05-22-07-2552

28 กรกฎาคม 2552

เขียนโปรแกรมเปรียบเทียบการใช้ฟังก์ชั่น iostream.h กับ stdio.hผลลัพธ์ต้องเหมือนกัน

โปรแกรมคำนวณการคิดเกรด โดยให้รับคะแนนจากผู้ใช้ หากคะแนนมีค่า

-มากกว่าหรือเท่ากับ 80 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 100 แสดงเกรด ‘A’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 75 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 79 แสดงเกรด ‘B+’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 70 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 74 แสดงเกรด ‘B’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 65 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 69 แสดงเกรด ‘C+’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 60 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 64 แสดงเกรด ‘C’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 55 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 59 แสดงเกรด ‘D+’

-มากกว่าหรือเท่ากับ 50 และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 54 แสดงเกรด ‘D’

-และถ้ามีคะแนนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 49 แสดงเกรด ‘F’


iostream.h

stdio.h

DTS 05-22-07-2552

26 กรกฎาคม 2552

last in first out (LIFO) สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

1. การซื้อของบนชั้นวางของใน Seven ต้องหยิบจากข้างนอกก่อน

2. การพับผ้าเก็บไว้ในตู้ ต้องหยิบตัวที่ผับหลังสุดใส่ก่อนเสมอ

3. การหยิบแก้วน้ำจากโรงพยาบาล(แก้วที่เป็นกรวยกระดาษ)

4. เทปกาวสองหน้าใช้ข้างนอกก่อนเสมอ

5. การวางจานซ้อนกันต้องวางจานลงบนกล่องเก็บจานจากล่างสุดที่ละใบ และสามารถใส่ได้จนเต็มกล่อง
และเมื่อมีการวางจานจนเต็มกล่องแล้วจะไม่สามารถวางจานซ้อนได้อีกเพราะกล่องมีสภาพเต็ม แต่เมื่อเราจะหยิบจานไปใช้ เราต้องหยิบใบบนสุด ซึ่งเป็นจานที่ถูกวางเก็บเป็นอันดับสุดท้ายออกได้เป็นใบแรก และสามารถหยิบออกที่ละใบจากบนสุดเสมอ ส่วนจานที่ถูกวางเก็บเป็นใบแรก จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อนำจานที่วางทับมันอยู่ออกไปใช้เสียก่อน และจะหยิบออกไปใช้เป็นใบสุดท้ายดังรูปข้างล่าง

DTS 05-22-07-2552

15 กรกฎาคม 2552

สรุปการเรียน Lecture 4 เรื่อง Linked List

จากการที่ได้เรียนเรื่องLinked List ในวันนี้ก็เข้าใจได้ว่า
ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บ ข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมีพอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่งในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ Data จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์ ในส่วนของ data อาจจะเป็นรายการเดี่ยวหรือเป็นเรคคอร์ดก็ได้ ในส่วนของ link จะเป็นส่วนที่เก็บตำแหน่งของโหนดถัดไป ในโหนดสุดท้ายจะเก็บค่า Null ซึ่งไม่ได้ชี้ไปยังตำแหน่งใด ๆ เป็นตัวบอกการสิ้นสุดของลิสต์ในลิงค์ลิสต์จะมีตัวแปรสำหรับชี้ตำแหน่งลิสต์ (List pointer variable)ซึ่งเป็นที่เก็บตำแหน่งเริ่มต้นของลิสต์ ซึ่งก็คือโหนดแรกของลิสต์นั่นเอง ถ้าลิสต์ไม่มีข้อมูล ข้อมูลในโหนดแรกของลิสต์จะเป็นNull

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์
โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน
ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง โหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create List หน้าที่ สร้างลิสต์ว่างผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง
2. กระบวนงาน Insert Node หน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ลิสต์ข้อมูล และตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Nodeหน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่งผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. กระบวนงาน Search list หน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์ ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล
5. กระบวนงาน Traverseหน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์ ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล เช่น เปลี่ยนแปลงค่าใน node , รวมฟิลด์ในลิสต์ , คำนวณค่าเฉลี่ยของฟิลด์ เป็นต้น
6. กระบวนงาน Retrieve Node หน้าที่ หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์ ข้อมูลนำเข้าลิสต์ ผลลัพธ์ ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
7. ฟังก์ชั่น EmptyList หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์ว่างข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่างเป็นเท็จ ถ้าลิสต์ไม่ว่าง
8. ฟังก์ชั่น FullList หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูลนำเข้าลิสต์ ผลลัพธ์ เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็มเป็นเท็จ ถ้าสามารถมีโหนดอื่น
9. ฟังก์ชั่น list count หน้าที่ นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์ ข้อมูลนำเข้าลิสต์ ผลลัพธ์ จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
10. กระบวนงาน destroy list หน้าที่ ทำลายลิสต์ ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ผลลัพธ์ ไม่มีลิสต์

Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิก
ตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list) ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของ
ลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้น
คือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศ
ทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในลิงค์ลิสต์แบบ 2
ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูล
ก่อนหน้า (backward pointer) และตัวชี้ข้อมูลถัดไป
(forward pointer)


DTS 04-15-07-2552

สรุปการเรียน Lecture 3 เรื่อง Set and String

จากการที่ได้เรียนเรื่องโครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต ในวันนี้ก็เข้าใจได้ว่า
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้
ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)
ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference

สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่างการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor) หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (wordprocessing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ

สตริงกับอะเรย์
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระเช่น char a[6]อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่องอักขระ หรือเป็นสตริงขนาด 5 อักขระก็ได้ โดยจุดสิ้นสุดของ
string จะจบด้วย \0 หรือ null character เช่น
char a[ ]={‘H’, ‘E’, ‘L’, ‘L’, ‘O’, ‘\0’};
char a[ ]=“HELLO”;


การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
(String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการ ของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้าย
ด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ เช่น ต้องการสตริงสำหรับเก็บชื่อบุคคลยาวไม่เกิน 30 อักขระ ต้องกำหนดเป็นอะเรย์ขนาด 31 ช่อง เพื่อเก็บ null character อีก 1ช่อง


การดำเนินการเกี่ยวกับสตริง
ในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.h เก็บอยู่ใน C Library อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น
- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง
- ฟังก์ชัน strcpy (str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูล จาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง
- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน
- ฟังก์ชัน strcmp(str1,str2 ) ใช้เปรียบเทียบข้อความ 2 ข้อความว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่ ถือหลักการเปรียบเทียบแบบพจนานุกรม เช่น abcda จะมีค่าน้อยกว่า abcde และ abcdf จะมีค่ามากกว่า abcde ค่าที่เท่ากัน คือ ค่าที่เหมือนกัน เช่น abcd กับ abcd สำหรับอักษรตัวเล็กตัวใหญ่ จะถือว่าอักษรตัวใหญ่มีค่าน้อยกว่า
อักษรตัวเล็ก ตามลำดับรหัส ASCII


DTS 04-15-07-2552

2 กรกฎาคม 2552

แบบฝึกหัด Lecture 2

1.ให้นักศึกษากำหนดค่าของ Array 1 มิติ และ Array 2 มิติ

- Array 1 มิติ คือ char surname[40];

- Array 2 มิติ คือ int name[7][8];



2.ให้นักศึกษาหาค่าของ A[2] , A[6] จากค่าA={2,8,16,24,9,7,3,8,}

- A[2] คือ 16 และ A[6] คือ 3



3.จากค่าของ int a [2][3] = {{6,5,4},{3,2,1}}; ให้นักศึกษาหาค่าของ a[1][0]และa[0][2]

- a[1][0] คือ 3 และ a[0][2] คือ 4



4.ให้นักศึกษากำหนด structure ที่มีค่าของข้อมูลจากน้อย 6 Records

- struct employee
{char name[60];
char lastname[60];
int id;
int age;
char address [80];
int day;
int month;
int year;
}emp;

5. ให้นักศึกษาบอกความแตกต่างของการกำหนดตัวชนิด Array กับตัวแปร Pointer ในสภาพของการกำหนดที่อยู่ของข้อมูล

- array หมายถึง ตัวแปรชุดที่ใช้เก็บตัวแปรชนิดเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น เก็บ ข้อมูล char ไว้กับ char เก็บ int ไว้กับ int ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่างชนิดกันได้ เช่น char กับ int เรียก array อีกอย่างว่าหน่วยความจำแบ่งเป็นช่อง การกำหนดสมาชิกชิกของ array จะเขียนภายในเครื่องหมาย [ ]pointer หมายถึง ตัวเก็บตำแหน่งที่อยู่ของหน่วยความจำ (Address) หรือเรียกว่า ตัวชี้ ตำแหน่งที่อยู่ สัญลักษณ์ของ pointer จะแทนด้วยเครื่องหมาย *



DTS 03-01-07-2552

1 กรกฎาคม 2552

สรุปการเรียน Lecture 2 เรื่อง Pointer



Pointer เป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่ง
ที่อยู่ (Address) ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ


การกำหนด address ให้ pointer
วิธีนำเลข address ไปใส่ pointer ทำได้โดยใช้เครื่องหมาย & (address operator)

Pointer ที่เกิดจากเครื่องหมาย &
เมื่อเครื่องหมาย & ถูกใส่ไว้หน้าตัวแปรใดๆ ก็ตาม จะมีความหมายถึงค่าของตำแหน่งในหน่วยความจำที่ใช้เก็บค่าของตัวแปรนั้น ที่เราจะเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ ในคำสั่ง scanf เช่น
int x;
scanf(“%d”,&x);
มีความหมายว่า ให้รับค่าทางคีย์บอร์ดแล้วให้แปลงเป็น integer แล้วนำไปใส่ในหน่วยความจำที่เป็นตำแหน่งของ x

*** เราสามารถอ้างถึงค่าที่อยู่ในตัวแปร x ได้โดยการใส่ * หน้า &x ก็จะมีความหมายเช่นเดียวกับ x นั่นเอง เช่น
x=5;
printf(“%d %d”, x, *(&x) );
ผลรัน จะเป็น 5

Pointer ที่เกิดจากการกำหนดตัวแปร array
การอ้างถึงชื่อของตัวแปร array โดยไม่ได้ระบุตัวชี้ลำดับ(subscript) จะหมายถึงตำแหน่ง(ในหน่วยความจำ)ของ array ตัวแรก ในภาษาซีจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงตำแหน่งของตัวแปร array ดังกล่าวได้ เช่น
char a[100];
a+=10; // error
ในกรณีนี้ &a จะมีความหมายเช่นเดียวกับ a ซึ่งก็คือค่าตำแหน่งในหน่วยความจำของ array ตัวแรกนั่นเอง
การประกาศชนิดของตัวแปรพอยน์เตอร์

รูปแบบ
type *variable-name
type หมายถึง ชนิดของตัวแปร
* หมายถึง เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าตัวแปรที่
ตามหลังเครื่องหมายนี้เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์
variable-name เป็นชื่อของตัวแปรที่ต้องการประกาศว่าเป็น
ชนิดพอยน์เตอร์


ข้อสรุปเรื่อง pointer
• ทำหน้าที่ชี้ไปยังตำแหน่งเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ
• การประกาศ pointer ต้องกำหนด data type ด้วย
• ใช้ pointer ชี้ไปยัง pointer หรือชี้ไปยัง array หรือ array ของ pointer ก็ได้
• pointer ที่ชี้ไปยัง pointer ใช้ดอกจันสองตัว เช่น int** p
• pointer arithmetic เป็นไปตาม data type




DTS 03-01-07-2552